Windows ME Thai on Japanese Notebookสมชัย หลิมศิโรรัตน์ 20 กรกฏาคม 2546 |
||||||||||||||||||||||||||
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้มีโอกาสเลือกซื้อเครื่อง Notebook ที่ขายอยู่ที่ญี่ปุ่นนี้ ให้กับเพื่อน ซึ่งเขาต้องการเครื่องเล็กๆ น้ำหนักเบา เพราะเขาต้องเดินทางไปประชุม-สัมมนาบ่อย อีกทั้งเป็นคนตัวเล็กด้วย ไม่ต้องการความสามารถมากมายนัก เพราะใช้พิมพ์งานเท่านั้น และถ้าราคาถูกได้ก็ยิ่งดี เพราะว่าถ้าแพงมากเขาอาจจะตัดสินใจซื้อ Notebook จากโครงการเอื้ออาทรของรัฐบาล แต่ผมเคยเห็น spec. เครื่องโครงการเอื้ออาทรแล้ว ไม่เหมาะกับเขาเลย เพราะเครื่องใหญ่ น้ำหนัก 2-3Kg และราคานั้น ก็ไม่ค่อยถูกมากเท่าไหร่ เพิ่มเงินอีกนิดเดียวก็สามารถซื้อเครื่องที่ดีกว่า เบากว่า ที่ญี่ปุ่นได้สบายมาก ผมเลยอาสาจัดการเลือกซื้อให้เขา เครื่องที่ผมเลือกซื้อมาได้นั้น คือเครื่องยี่ห้อ Sharp รุ่น PC-SX1-H1 ในราคา 100,000เยน หรือประมาณ 35,000บาท ซึ่งเป็นเครื่องประเภท Mobile คือ ขนาดเล็ก(ขนาดกระดาษ B5), กินไฟน้อย (ใช้งานได้นานถึง 5 ชม.) และ น้ำหนักเบา (1.43Kg) มี spec. หลักๆดังนี้
รูปร่างเครื่องมีลักษณะดังนี้ ภาพจากโฮมเพจของบริษัท Sharp (http://www.sharp.co.jp) ความจริงแล้วเครื่องรุ่นนี้ตกรุ่นแล้ว เครื่องรุ่นใหม่ที่เพิ่งออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว น้ำหนักเบากว่านี้มาก(0.9Kg) และบางกว่าด้วย แต่ราคายังแพงอยู่(170,000เยน) และไม่มี Modem ด้วย แต่เป็น Wireless LAN แทน เพราะว่าที่ญี่ปุ่นเขาเลิกใช้ Modem กันแล้ว ถ้าจะต่อ Internet ก็ใช้ ADSL หรือ Fiber Optic กันแล้ว ซึ่งจะต่อกับ LAN หรือ Wireless LAN แทน คงต้องรออีกหลายปีกว่าเมืองไทยจะยอมรับเครื่องรุ่นใหม่นี้ เฮ้อ! อุปกรณ์สำหรับติดตั้งที่ผมซื้อเฉพาะ FDD เพิ่ม แต่ไม่ซื้อ CD-ROM เพิ่มด้วย ก็เพราะว่า เพื่อนผมเขาจำเป็นต้องใช้ Floppy Disk แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ CD-ROM อีกอย่าง USB CD-ROM ในร้านนั้นมีแต่ที่เป็น CD-RW ซึ่งมีราคาแพง และต้องใช้ adapter ด้วย ซึ่งเป็นระบบไฟ 100Volt จะใช้กับเมืองไทยไม่ได้ บางคนคิดว่ามาซื้อหม้อแปลงที่เมืองไทยได้ แต่จริงๆแล้ว ใช้ได้ แต่เครื่องจะเสียเร็ว เพราะว่า หม้อแปลงเมืองไทยนั้น จะเป็นระบบหารสอง คือ 220/2=110Volt ซี่งถ้าใช้กับเครื่องที่มาจากอเมริกา ที่ใช้ระบบไฟ 110Volt ก็ไม่มีปัญหา แต่ระบบไฟที่ญี่ปุ่นเป็น 100Volt จะเกินไปหน่อย ก็จะเสมือนว่าเราใช้ไฟเกินอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้เครื่องเสียเร็ว ผมจึงไม่ซื้อ และเพราะว่าผมมี USB DVD+RW อยู่แล้ว ก็จะใช้ตัวนี้สำหรับติดตั้ง Windows ME Thai ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่ผมไม่มีอะไรเลย ผมมักจะใช้ LAN copy โปรแกรมทั้งหมดไปไว้ในฮาร์ดดิสต์ของเครื่องก่อน ตรวจสอบ Driverจากประสบการณ์ที่เคยเปลี่ยนมาหลายเครื่อง ผมรู้ดีว่าปัญหาใหญ่คือ driver ที่เป็นภาษาญี่ปุ่น บางตัวจะไม่สามารถทำงานบน Windows ไทยได้ หรือ driver บางตัวจะมีอยู่ใน Windows ญี่ปุ่นอยู่แล้ว แต่ใน Windows ไทยไม่มี ซึ่งจะหา driver มาลงไม่ได้ ถ้าใช้รุ่นไกล้เคียงบางครั้งก็ใช้ไม่ได้ ผมจึงต้องจดชื่อ driver ทั้งหมดที่มีอยู่ไว้ก่อน โดยเริ่มจากการติดตั้ง Windows ที่มีมากับเครื่อง (เปิดเครื่องครั้งแรก มันจะทำการติดตั้งให้ทันที) เครื่องรุ่นนี้ จะมี Windows ME Japanese ติดมาด้วย พร้อมกับแผ่น Recovery CD 2 แผ่น และ Application CD 2 แผ่น แต่จะไม่มี แผ่น Windows ME มาให้เหมือนๆกับที่เราไปซื้อมาจากร้านนะครับ เครื่อง Notebook ทั้งหลาย ปกติแล้วจะเป็นแบบนี้ คือมี Windows ที่เป็น License ที่ติดมากับเครื่องนะครับ ถ้าหาก OS พัง เนื่องจากไวรัส หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ใช้แผ่น Recovery ติดตั้งเข้าไปใหม่ ซึ่งแผ่น Recovery ของเครื่องนี้ แผ่นแรกจะเป็นฮาร์ดดิสต์ Image ไฟล์เท่านั้น ซึ่งมีโปรแกรม Power Quest Easy Recovery เป็นโปรแกรมช่วย copy ข้อมูลในฮาร์ดิสต์ image ลงเครื่อง ส่วน Recovery CD แผ่นที่ 2 นั้น มีฮาร์ดดิสต์ image ไฟล์ และ driver ต่างๆสำหรับเครื่องรุ่นนี้อยู่ ก็นับว่าโชคดีที่เขาจัด driver แยกออกมาจาก image ไฟล์ เมื่อติดตั้ง Windows ME Japanese เสร็จ ผมก็เปิด Control Panel/System/Device Manager เพื่อจดชื่อ driver ทั้งหมดไว้ หาทาง boot เครื่องผมก็ต่อ FDD และ DVD ไดร์ฟของผมเข้าไป และทดสอบ boot เครื่องด้วยแผ่น startup ที่ทำขึ้นมาจาก Windows ญี่ปุ่น แต่ปรากฏว่า ผมไม่สามารถ boot เครื่องได้เลย เครื่องมันจะแสดงข้อความทดสอบหน่วยความจำ และอุปกรณ์อื่นๆตามปกติแล้วก็หยุดค้างไปเลย แต่พอผมถอด FDD ออกมันก็ทำงานต่อได้ ก็เลยสรุปว่า FDD ที่ผมซื้อมา (ไม่ใช่ของ Sharp ที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องนี้ เพราะว่ามันแพง) ไม่สามารถเสียบตอน boot เครื่องได้ ตายล่ะหว่า! ทำยังไงดี? ที่ผมต้องทดสอบ boot เครื่องก่อน ก็เพราะว่า ตอนที่จะติดตั้ง Windows ไทยนั้น ผมจะ format ฮาร์ดดิสต์และแบ่ง partition ใหม่ด้วย ก็นับว่ายังโชคดีที่ DVD ไดร์ฟของผมสามารถเขียน CD-RW ได้ ผมก็เลยทำ bootable CD ขึ้นมา และ boot ด้วย CD-RW นั้นแทน DOS Prompt แบบญี่ปุ่นแผ่น startup ที่ผมทำขึ้นมาจาก Windows ญี่ปุ่นนั้น จะมี USB/PCMCIA CD-ROM driver สำหรับ DOS mode มาให้ด้วย ซึ่งจะทำให้มองเห็น CD-ROM ตอน boot เข้า DOS Prompt ก็จะทำให้สามารถเรียกโปรแกรม setup ของ Windows ไทยได้ แต่ว่าเมื่อรันโปรแกรม setup ของ Windows ไทยนั้น จะมีปัญหาคือ ตอนแรกที่มันทำการ scan disk นั้น หน้าจอจะมองเห็นเป็นพื้นขาวๆ ไม่เห็นตัวอักษรอะไรเลย และหน้าจออื่นๆก็มองไม่เห็นด้วย สาเหตุก็คือ การ boot เข้าสู่ DOS แบบญี่ปุ่นนั้น มันจะติดตั้ง device driver สำหรับ keyboard และการแสดงผลภาษาญี่ปุ่นไว้ด้วย ซึ่งทำให้มีปัญหาการแสดงผล ผมจึงต้องแก้ไขไฟล์ CONFIG.SYS ในแผ่นไม่ให้โหลด device driver สำหรับการแสดงผลภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมีคำสั่งดังนี้ DEVICE=BILING.SYS ส่วนคำสั่งที่ติดตั้ง device สำหรับ keyboard นั้นจำเป็นต้องคงไว้ เพราะว่า keyboard ภาษาญี่ปุ่นนั้น จะจัดวางตัวอักษรบางตัวผิดไปจากภาษาอังกฤษ เช่น ปุ่ม ; เวลากด shift จะเป็นเครื่องหมาย +, ปุ่ม : เวลากด shift จะเป็นเครื่องหมาย * เป็นต้น คำสั่งที่ยังคงไว้คือ DEVICE=JKEYB.SYS /106 JKEYBRD.SYS เป็นการระบุว่าใช้ keyboard ญี่ปุ่นแบบ 106 key และไฟล์ JKEYB.SYS และ JKEYBRD.SYS นี้ผมก็ copy เก็บไว้ใช้กับ Windows ไทยด้วย ติดตั้ง Windows ไทยเมื่อ boot เครื่องได้, อ่าน CD-ROM ได้, เรียก setup ได้ เราก็สามารถติดตั้ง Windows ได้เลย แต่ก่อนที่จะติดตั้งนั้น ผมก็จัดการแบ่ง partition และ format ฮาร์ดดิสต์ ด้วยคำสั่ง FDISK และ FORMAT เสร็จแล้วจึงติดตั้ง Windows ME ไทยลงไป เมื่อติดตั้งเสร็จ ก็ตรวจสอบ driver ต่างๆใน Control Panel/System/Device Manager ดูว่าตรงกับที่จดไว้หรือไม่ ซึ่งบางตัวก็ตรง บางตัวก็ไม่ตรง และบางตัวก็ไม่รู้จัก โดยเฉพาะ SD/Smart Media Device นั้น Windows ME ไทยมันไม่รู้จัก ผมก็จัดการเอาแผ่น Recovery CD 2 มาติดตั้ง driver ต่างๆลงไปจนครบทุกตัวเหมือนที่จดไว้ตอนแรกเลย แต่ตัวที่มีปัญหามากที่สุดก็คือ TouchPad คือมันไม่ทำงาน ผมก็ลง driver ถูกต้องหมดทุกอย่างแล้ว แต่ driver มันบอกว่าหา device ไม่เจอ ผม Search ไปที่ support ของ Sharp เกี่ยวกับเครื่องรุ่นนี้ ก็ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับ TouchPad เลย แต่มีเรื่องเกี่ยวกับการ Upgrade เป็น Windows XP ที่มี BIOS update อยู่ด้วย ผมจึงคิดว่าอาจจะเกี่ยวกับ BIOS ด้วย หรือถ้าไม่เกี่ยว การ update BIOS รุ่นใหม่ก็น่าจะดีกว่า ก็เลยจัดการ update BIOS และปรากฏว่า TouchPad มันก็ทำงานขึ้นมาเลย ก็เป็นอันเรียบร้อยครบถ้วนทุกตัว...เฮ้อ! เหงื่อตกเลยเรา เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ปกติแล้ว เครื่องพวกนี้มักมีโปรแกรมช่วยงานหลายๆอย่างที่น่าใช้ เช่น โปรแกรมจัดการ power, โปรแกรมจัดการ device พิเศษ เช่น TouchPad เป็นต้น ผมก็ควานหาโปรแกรมพวกนี้มาติดตั้งด้วยจนครบ สำหรับเครื่องรุ่นนี้ ที่น่าสนใจคือ โปรแกรม Long Run ที่ช่วย switch Clock ของ CPU ให้ทำงานที่ Clock ต่ำๆเมื่อเราไม่ใช้งาน จะทำให้ประหยัดพลังงานได้มาก ติดตั้ง Keyboard แบบญี่ปุ่นที่พูดเรื่อง keyboard แบบญี่ปุ่นไปแล้วนั้น เป็น device driver ใน DOS โหมดเท่านั้น เมื่อเข้าสู่ Windows โหมดแล้ว ปกติของ Windows ไทยจะมี keyboard อยู่สองตัว คือ English (United States 101) และ Thai (Thai Kedmanee) อยู่ ตามที่บอกไปแล้วว่า keyboard ญี่ปุ่นจะไม่ตรงกับภาษาอังกฤษบางปุ่ม สำหรับบางคนที่พิมพ์สัมผัส keyboard แบบอังกฤษได้อยู่แล้ว ก็คงไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่ถ้าจำปุ่มไม่ได้ ต้องก้มดูว่าอะไรอยู่ตรงไหน ก็ควรจะเปลี่ยน ชนิดของ keyboard ให้เป็นแบบญึ่ปุ่นจะดีกว่า (บางท่านอาจจะใช้วิธีง่ายๆคือ เอาสติกเกอร์มาแปะทับตัวเก่า หรือไม่ก็ถอดและย้ายปุ่มใหม่) สำหรับ keyboard แบบญี่ปุ่นนั้น ไม่มีอยู่ใน Windows ME ไทยนะครับ ผมก็ได้ keyboard layout ไฟล์มาจากโฮมเพจ Bilingual English / Japanese Windows95 Computing Notes ซึ่งมีไฟล์ KBDJPA01.KBD ซึ่งเป็น keyboard layout ไฟล์ และ jkeyb.reg ซึ่งเป็น registry ไฟล์ เราจะต้อง copy ไฟล์ KBDJPA01.KBD ไปไว้ที่ WINDOWS\SYSTEM และสั่ง merge jkeyb.reg ด้วยการ click mouse ปุ่มขวาที่ไฟล์แล้วเลือกเมนู Merge เสร็จแล้ว ก็เลือก keyboard ได้ที่ Control Panel/Keyboard/Language เลือก Properties ของภาษาที่เราต้องการ เช่น English ก็จะปรากฏรายชื่อ keyboard แบบต่างๆให้เลือก สำหรับ keyboard ภาษาญี่ปุ่นที่ติดตั้งนี้ ชื่อว่า Japanese A01 สรุปบทความนี้เป็นเรื่องของการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการ Windows ME เท่านั้นนะครับ สำหรับรุ่นอื่นๆ เช่น Windows 2000 หรือ XP นั้น คงจะแตกต่างไปจากนี้พอสมควร แต่อาจจะง่ายหรือยากกว่านี้ ก็ได้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ เพราะยังไม่เคยได้ทำ หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องซื้อเครื่องจากญี่ปุ่นมาใช้ สามารถเปลี่ยนระบบให้ใช้งานได้สะดวกขึ้นนะครับ สำหรับเครื่องที่ผมเคยเปลี่ยนนั้น เป็นเครื่องยี่ห้อ Toshiba และ Sharp ซึ่งเป็นยี่ห้อที่มี driver ภาษาอังกฤษค่อนข้างครบถ้วน สำหรับยี่ห้ออื่นนั้น ไม่แน่ใจว่าจะมี driver สำหรับภาษาอังกฤษหรือเปล่า โดยเฉพาะเครื่องที่มีอุปกรณ์พิเศษเยอะๆ หรือเครื่องรุ่นใหม่มากๆ หากท่านจะซื้อเครื่องแล้วมาเปลี่ยนเป็นไทยนั้น ขอให้คิดดูให้ดีก่อนนะครับ |
||||||||||||||||||||||||||
since September
2002 Copyright © 2002-2004 Somchai LIMSIRORATANA. All rights reserved. |